ดูหนังออนไลน์ The King and I (1956) เดอะคิงแอนด์ไอ หนังเต็มเรื่อง หนังมาสเตอร์ ดูหนังHD บรรยายไทย ซับไทย เรื่องย่อ : The King and I สร้างมาจากหนังสือนวนิยายชื่อ Anna and The King of Siam (ตีพิมพ์ 1944) ของ Margaret Landon เป็นชีวิตของบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ นั้นคือนาง Anna Leonowens (1831-1915)แม่หม้ายชาวอังกฤษผู้กระเตงบุตรชายคือ ดช.หลุยส์ไปเป็นครูสอนหนังสือในพระราชวังของพระบาทสม เด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวหรือรัชกาลที่สี่ ในสมัยนั้นกรุงสยามกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อด้ วยถูกแรงกดดันจากมหา อำนาจจากตะวันตกให้เปิดประเทศ ดังเช่นสยามต้องทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ใน พ.ศ. 2398 เพื่อเปิดเสรีทางการค้าโชคดีที่สยามได้พระมหากษัตริย ์ผู้ทรงเห็นการณ์ไกล เช่นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า รัชกาลที่สี่ ที่ทรงเตรียมการณ์ทุกอย่างสำหรับการทำให้สยามกลายเป็ นประเทศสมัยใหม่ อันจะบังเกิดผลในยุคของพระโอรสของพระองค์คือพระบาทสม เด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ห้า ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจอะไรที่นางแอนนาซึ่งมาเป็น พระอาจารย์ของรัชกาลที่ ห้าในวัยเยาว์จะอ้างถึงอิทธิพลของตนที่มีต่อพระองค์จ ากไดอารี่ และหนังสือของเธอแน่นอนว่าจะเป็นข้อมูลสำหรับหนังสือ ของลันดอน มิชชั่นนารีผู้เคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในเมืองไทย กระนั้นนักประวัติศาสตร์ในยุคหลังก็ได้พยายามค้นคว้า และเปิดโปงชีวิตของเธอ และพบว่ามีอยู่หลายจุดที่เธอตั้งใจะเขียนเกินจริงเพื ่อให้ตัวเองดูดีกว่า เดิม เช่นแอนนาอ้างว่าเธอเกิดที่เวลส์ แต่ว่าความจริงเธอเกิดที่อินเดียหาได้เพิ่งย้ายไปอิน เดียเมื่ออายุสิบห้าปี ดังที่อ้างไม่ หรือว่าสามีคนแรกของเธอก็หาใช่เป็นนายทหารดังที่อ้าง หากเป็นเพียงเสมียน ธรรมดาๆ คนหนึ่งเท่านั้น และรัชกาลที่สี่หาได้ทรงมีพระสิเน่หาต่อเธอมากมายดัง ที่ปรากฎในนวนิยายหรือ ในหนังไม่ และที่สำคัญซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันในวงการประวัติศ าสตร์ว่า นางแอนนามีอิทธิพลมากน้อยเพียงไหนต่อองค์รัชทายาทในย ุคนั้นคือเจ้าฟ้า จุฬาลงกรณ์ จริงหรือที่เธอได้แนะนำหนังสือเกี่ยวกับชีวิตทาสที่แ สนเศร้าคือ Uncle Tom s Cabin ที่แสนโด่งดังในอเมริกาจนกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับเ จ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ในการ เลิกทาสเมื่อพระองค์ทรงได้เป็นพระมหากษัตริย์ในหลายป ีต่อมา ? ประเด็นนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันซึ่งท่านก็คงจะได้ค ำตอบจากหนังสือศิลปะและ วัฒนธรรม ของเครือมติชนซึ่งพูดถึงเรื่องนางแอนนาไว้มากมาย แต่บทความนี้จะขอพูดถึงหนัง The King and I มากกว่า ความจริงแล้วหนังสือของลันดอนถูกนำไปสร้างเป็นหนังมา ก่อนในปี 1946 กำกับโดย John Cromwell นางเอกหรือนางแอนนาคือ Irene Dunn และคนแสดงเป็นรัชกาลที่สี่คือ Rex Harrison ผู้รับบทชายโสดที่เกลียดการแต่งงานในหนังเรื่อง My Fair Lady การประสบความสำเร็จของหนังคงจะดึงดูดให้คู่หูคนดังคื อ Richard Rodgers และ Oscar Hammerstein II เจ้าของผลงานชื่อดังเช่น Sound of Music และ South Pacific นำนวนิยายไปดัดแปลงเป็นละครเพลง Boardway ในปี 1951 ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอีกเช่นกัน ต่อมาละครก็ถูกโปรดิวเซอร์มือทองอย่างเช่น Darryl F. Zanuck และCharles Brackett นำมาสร้างเป็นหนังสีธรรมชาติโดยมีพระเอกผู้มีเอกลักษ ณ์เฉพาะตัวคือหัวล้าน เลี่ยนตลอดกาล คือ Yul Brynnerที่เคยรับบทเป็นรัชกาลที่สี่มาก่อนในละครบรอด เวย์ บิลเนอร์ยังมีอิทธิพลต่อหนังอย่างมากเช่นคอยชี้แนะผู ้กำกับคือ Walter Lang ให้สามารถกำกับหนังจนจบ รวมไปถึงการผลักดันให้ Deborah Kerr (ผู้เคยผ่านตาเรามาแล้วในเรื่อง An Affair to Remember และ From Here to Eternity) ให้มารับบทเป็นนางแอนนา ทั้งที่ความจริง ซานุ๊กต้องการ Maureen O Hara (นางเอกของ How Green Was My Valley) ผู้ที่มีเสียงร้องแบบโซพราโนอันแสนไพเราะมากกว่า เมื่อเคร์มารับบทบาท เธอก็ไม่ได้ร้องด้วยเสียงตัวเอง แต่มีนักร้องอาชีพช่วยทำเสียงให้อีกที หรือแม้แต่ผู้รับบทรัชกาลที่สี่แล้ว ซานุ๊กยังเคยคิดจะใช้งาน Marlon Brando เสียด้วยซ้ำ ผมคิดถ้าเขาได้แสดง รัชกาลที่สี่ในหนังคงจะมีบุคคลิกที่กร้าวร้าวและโหดก ว่าบิลเนอร์หลายเท่า และบุคคลิกแบรนโดดูเหมาะสำหรับจอมขบถมากกว่านักปราชญ ์ อย่างไรก็ตามบิลเนอร์ก็พิสูจน์ความสามารถของเขาได้อย ่างดีจากการคว้ารางวัล ออสก้าสาขานักแสดงนำฝ่ายชายจากหนังเรื่องนี้ หนังเริ่มต้นโดยดำเนินเรื่องเหมือนกับหนังสือคือ นางแอนนาและเด็กชายหลุยส์เดินทางมาจากอังกฤษโดยเรือเ พื่อเป็นครูสอนหนังสือ ในราชสำนัก (ทั้งคู่ร้องเพลง I Whistle A Happy Tune ) ต่อมาหนังก็ได้จะสร้างความตกตะลึงและเสียดแทงคนไทยที ่เทิดทูนสถาบันกษัตริย์ ไม่น้อยเมื่อ The King and I นิยมใช้ธีมหลักคือเรื่องความรักแบบ Screwball comedy นั้นคือประเภทพ่อแง่ แม่งอน แน่นอนว่าหนังจะทำให้คนดูที่เป็นชาวตะวันตก (หรือแม้แต่คนไทยที่ไม่รู้ประวัติศาสตร์ว่า)เกิดความ เชื่อว่าพระมหากษัตริย์ สยามทรงตกหลุมรักแม่หม่ายชาวอังกฤษผู้หยิ่งยะโสและมุ ่งมั่นที่จะช่วยเหลือ สร้างความเจริญให้กับราชสำนักของประเทศเล็ก ๆ เช่นนี้แต่กว่าทั้งคู่จะมีใจให้กันได้(ใน The King and I ดูไม่ชัดเจนนักเพียงแต่ให้ทั้งคู่เต้นรำด้วยกันอย่าง ร่าเริง และแอนนาได้บอกลูกชายของเธอว่าเธอชื่มชอบรัชกาลที่สี ่มาก แต่ใน Anna and The King จัดเจนกว่ามากนั้นคือถึงขั้นจะจูบกัน) ก็ต้องมีการปะทะกันทางคารมและชัดเชิงเพราะความไม่เข้ าใจกันหลายอย่าง ด้วยเหตุนี้กระมังผู้สร้างหนังจึงให้รัชกาลที่สี่ทรง มีบุคลิกสองอย่างควบคู่ กันไป นั้นคือเป็นกษัตริย์นักปราชญ์ พร้อม ๆ ไปกับกษัตริย์ผู้ดุดัน และเป็นเผด็จการ จะได้เกิดความขัดแย้งกับนางแอนนาซึ่งมีสุขุมแต่มีควา มเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ยอมใคร สิ่งนี้ค่อนข้างจะสอดคล้องกับมุมมองของชาวตะวันตกในย ุคต้นศตวรรษที่ยี่สิบมี ต่อชาวตะวันออกนั้นคือเห็นตัวเองว่ามีเหตุผล และเน้นความเสมอภาค ในขณะที่ชาวตะวันออกโดยเฉพาะกษัตริย์จะเป็นเผด็จการเ น้นอำนาจ อารมณ์และกฏระเบียบ แน่นอนว่าในที่สุด ชาวตะวันตกเช่นนางแอนนาจะสามารถเอาชนะใจของกษัตริย์ต ะวันออกได้ด้วยเหตุผล และความรู้ที่สูงส่งกว่า ที่ดูเกินความจริงจนไม่น่าให้อภัยที่สุดคือตอนที่รัช กาลที่สี่ทรงถามนางแอ นนาว่า Et Cetera คืออะไร ? ทั้งๆ ที่รัชกาลที่สี่ทรงออกผนวชร่วมเกือบยี่สิบปีและได้เร ียนรู้ภาษาอังกฤษและ ภาษาละตินอย่างแตกฉานแต่ไม่ทราบความหมายของ คำว่า Et Cetera !?! และหนังก็ให้พระองค์ตรัสคำนี้ซ้ำไปซ้ำมาราวกับคนป่าท ี่เพิ่งรู้ภาษาของผู้ เจริญแล้ว นอกจากนี้ที่น่าสนใจว่าผู้เป็นตัวกลางในการติดต่อกับ นางแอนนาในช่วงต้นก็คือ ขุนนางผู้น่าเกรงขามอย่างเช่นพระยากลาโหม (Martin Benson) ซึ่งน่าจะมีเค้าโครงมาจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุ ริยวงศ์ ขุนนางตระกูลบุนนางที่ทางอิทธิพลที่สุดในสมัยรัชกาลท ี่สี่จนถึงต้นรัชกาลที่ ห้า ในหนังเขาดูร่างบึกบึนและมีอำนาจมากถึงขั้นเรียกได้ว ่ากล้ายืนกอดอกต่อหน้า พระมหากษัตริย์ในขณะที่คนอื่นหมอบกราบกันหมด (หนังทวิภพเวอร์ชั่นล่าสุดก็สร้างแก้ต่างให้ใกล้เคีย งกับความเป็นจริงที่สุด ขุนนางไทยยุคนั้นไม่ผอมก็อ้วน ไม่ได้มีหุ่นดีอย่างนั้นและทุกคนก็ต้องหมอบต่อหน้าพร ะพักต์พระมหา กษัตริย์)แน่นอนว่าการทำให้นางแอนนาเข้าไปสัมผัสกับร าชสำนักที่เต็มไปด้วย พระมเหสี หรือนางสนมรวมไปถึงพระโอรสและพระธิดาหลายสิบพระองค์ข องรัชกาลที่สี่ (ที่ตัวผู้แสดงไม่ใช่คนไทย พูดไทยถูกๆ ผิดๆ ชนิดชวนให้คนไทยฮากันตรึม) ย่อมทำให้คนดูตะวันตกเกิดความตื่นตาตื่นใจราวกับไปเย ี่ยมชมฮาเร็มของสุลต่าน ก็ไม่ปาน ถึงแม้นางแอนนาจะเป็นคนอังกฤษแต่อย่าลืมว่าหนังทำโดย คนอเมริกันและให้คน อเมริกันดูก่อน แน่นอนว่าคนอเมริกันย่อมนึกภาพไม่ออกว่าการมีภรรยามา กกว่าหนึ่งคนโดยไม่ เรียกว่าชู้นั้นเป็นอย่างไร เช่นเดียวกับนางเอกในเรื่อง Sound of Music นางแอนนาได้ทำให้คนเหล่านั้นหลงรักเธออย่างไม่ยากด้ว ยการให้ความรักและการ ศึกษา เปิดหูเปิดตาให้กับพวกเขา (ร้องเพลง Getting To Know You )เช่นแนะนำแผนที่โลกแบบใหม่ หรือชุดแต่งกายของชาวตะวันตกที่ชาวราชสำนักไม่เคยเห็ นมาก่อน แนะนำให้รู้ว่าหิมะเป็นอย่างไรและให้แง่คิดแก่เจ้าฟ้ าจุฬาลงกรณ์เกี่ยวกับ การเลิกทาส ฯลฯ ผู้ที่ทำให้หนังมีสีสรรมากขึ้นคือ เจ้าจอมทับทิมซึ่งเป็นเจ้าหญิงที่กษัตริย์แห่งพม่าทร งทูลถวายให้แก่รัชกาล ที่สี่ เธอกลับหาได้รักใคร่ในตัวพระมหากษัตริย์ไม่ แต่เป็นกับ ลุนตา ชายหนุ่มที่นำเธอมาถวาย เขายังคงเฝ้ารอเธออยู่ไม่ไกลจากราชวัง และแอบมาพลอดรักกับทับทิมอยู่บ่อยครั้ง (หนุ่มสาวร้องเพลง We Kiss in a Shadow ) สุดท้ายลุนตาก็ปลอมตัวเป็นคนลากรถแอบพาเธอหนีออกไปจา กวัง เมื่อทั้งคู่ถูกจับกุมตัว โทษถึงแก่ชีวิตของสองหนุ่มสาวน่าจะทำให้คนดูฝรั่งนึก ตำหนิรัชกาลที่สี่ทั้ง ที่ความจริงแล้วยังไม่มีการยืนยันทางประวัติศาสตร์ได ้ว่าเจ้าจอมทับทิมมีตัว ตนอยู่จริงหรือไม่ หรือว่าถูกลงโทษเช่นนั้นจริง ๆ แต่ที่สารที่สื่อมากับหนังก็คือฮอลลี่วู๊ดก็ได้แสดงภ าพเปรียบเทียบระหว่าง ความรักของชาวอเมริกันที่ขึ้นอยู่กับเจตจำนงเสรีกับค วามรักของชาวสยาม (ตะวันออก)ที่ขึ้นอยู่กับอำนาจ ที่น่าตลกว่าเรื่องของนางทับทิมนี้ได้ทำให้เรื่องจบล งแบบบิดเบือนประวัติ ศาสตร์ที่สุด (ถ้าอยากรู้กรุณาดูข้างล่าง) The King and I ย่อมถูกรัฐบาลไทยสั่งห้ามไม่ให้ฉาย และเมื่อ Anna and The King ถูกปรากฏการณ์นี้ซ้ำเข้าไปอีก ย่อมก่อให้เกิดกระแสต้านของบุคคลบางกลุ่มที่มีหัวเสร ีนิยมขึ้นด้วยเห็นว่า หนังก็คือหนัง การปิดกั้นจะทำไม่ให้เรารู้ว่าตัวหนังเป็นอย่างไรและ ใกล้เคียงกับความเป็น จริงอย่างไร กระนั้นการสั่งห้ามฉายของทางการก็เกิดจากกระแสกษัตริ ย์นิยมที่มีอิทธิพล เหนือกลไกของรัฐไทยในปัจจุบัน การตัดสินใจของรัฐนั้นไม่ได้มองไปที่ไปว่าคนไทยมีเป็ นคนมีเหตุผลเพียงพอที่ จะแยกแยะความจริงออกจากหนังหรือไม่หากแต่มองตรงสื่อว ่าสอดคล้องกับกฏหมายมาก น้อยแค่ไหน ถึงแม้จะไม่ใช่หนังเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุ บัน แต่ถือได้ว่ารัชกาลที่สี่ทรงเป็นหนึ่งในภาพพจน์ของรา ชวงศ์จักรีที่มิอาจจะ ละเมิดได้ ดังในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่ถูกฉีกไปนั้น มาตรา 8 ระบุไว้ว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักก าระ ผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้ แน่นอนว่าผู้ที่เกี่ยวข้องทางสายเลือดกับกษัตริย์จะถ ูกล่วงละเมิดไม่ได้ เหมือนกัน (ดังเหตุผลที่ว่าทำไมถึงมีการทำหนังเรื่องพระเจ้าตาก สินไม่ได้เสียที) จุดจบที่ไร้สาระของหนังนั้นคือ รัชกาลที่สี่ทรงเกิดตรอมพระทัยจนเสด็จสวรรคตอาจเพราะ ไม่สามารถทนแรงกดดัน ระหว่างความอับอายอันเกิดจากการต่อว่าของแอนนาที่พระ องค์สั่งลงโทษนางทับทิม และราชประเพณีที่ต้องประหารผู้ทรยศต่อกษัตริย์ ตามความจริงแล้วรัชกาลที่สี่เสด็จสวรรคตด้วยไข้ป่าเม ื่อคราวเสด็จไปเยี่ยมชม สุริยะคราสที่ตำบลหว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ พ.ศ 2411 และตามความเป็นจริงนางแอนนาหาได้อยู่ในกรุงสยามตอนพร ะองค์เสด็จสวรรคตไม่ เชิญรับชมหนังภาพยนตร์ เรื่องนี้ได้เลย ดูหนังฟรี ซีรีส์ออนไลน์ ซีรีส์ใหม่ ดูซีรีส์ ดูหนังไม่กระตุกไม่สะดุด ดูหนังผ่านมือถือ ผ่านสมาร์ทโฟน แอนดรอย IOS สมาร์ทTV
ดูหนัง หนังอัพเดทใหม่ หนังออนไลน์HD หนังการ์ตูน หนังอนิเมะ หนังNetflix ซีรี่ย์จีน ซีรี่ย์ฝรั่ง ซีรี่ย์เกาหลี มาใหม่ทุกวัน มีทั้ง หนังบู๊ หนัง2023 หนังเก่า ดูหนังตลก หนังชีวิตจริง หนังสยองขวัญ หนังลึกลับ เพลงคอนเสิร์ต ดูหนังกีฬา หนังสงคราม หนังคาวบายตะวันตก ดูหนังสยองขวัญ มีหนังพากย์ไทย ทั้งหนังซับไทย บรรยายไทย หนังซุปเปอร์ฮีโร่ หนัง MARVEL DC หนังแอคชั่น หนังอนิเมชั่น หนังการ์ตูนอนิเมะ ดูหนังฟรีไม่มีสะดุด หนังไม่มีโฆษณากวนใจ หนังชนโรง หนัง Netflix และเว็บไซต์ดูหนังออนไลน์นี้ ยังอัพเดทหนังใหม่ตลอด ดูหนังฟรี ดูหนังไม่เสียค่าใช้จ่าย